วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี

วัดท่าซุง วัดที่มีชื่อเสียงและงดงามของเมืองอุทัยธานี วัดท่าซุง จริงแล้วเป็นวัดเก่าแก่ ที่สร้างตั้งแต่สมัยโดย หลวงพ่อใหญ่องค์แรก เป็นผู้สร้างวัดแต่วัดเริ่ม พัฒนาและเป็นที่รู้จักเมื่อพระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียง ได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย เช่น พระอุโบสถใหม่ภายใน ประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดา โดยจิตรกรฝีมือดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมา ตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้ว และมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้ามณฑป และ พระวิหารแก้วที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราชจำลอง และร่างของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย
วัดท่าซุง หรือ วัดจันทาราม ตั้งชื่อตามอดีตเจ้าอาวาสชื่อจันท์ (ในสมัยพระนารายณ์มหาราช นายทหารชื่อจันท์ กลับจากศึก เชียงใหม่ มาตาม หาภรรยาไม่พบเลยมาบวชที่วัด ต่อมาเป็นสมภาร เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น วัดจันทาราม ตามชื่อท่านสมภาร หรืออีกชื่อหนึ่งที่ บุคคลทั่วไปนิยม เรียกว่า วัดท่าซุง เพราะในอดีตจังหวัดอุทัยธานี มีป่าไม้มาก จึงมีการขนส่งท่อนซุง มาลงท่าน้ำซึ่งมี แม่น้ำสะแกกรังไหลผ่านบริเวณวัดท่าซุง เพื่อผูกเป็นแพล่อง ไปตามแม่น้ำ ในปี พ.ศ. 2332 หลวงพ่อใหญ่ (องค์ที่สอง) ท่านได้ธุดงค์มา ปักกลดชาวบ้านท่าซุงมีความเลื่อมใสศรัทธามาก ได้นิมนต์ท่านอยู่ประจำ ที่วัดท่าซุงนี้ ท่านก็รับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาส ที่วัดนี้มีท่าน เพียงองค์เดียว ในตอนแรกสร้างเสนนาสนะเจริญรุ่งเรือง ในสมัยของท่านและหลวงพ่อท่านเจ้าคุณ พระราชพรหมยาน ท่านได้บอกอีกว่า หลวงพ่อใหญ่ท่านบรรลุพระอรหันต์ที่วัดนี้อีกด้วย กล่าวคือ เมื่อมีชีวิตอยู่ท่านเป็นอนาคามี ก่อนจะมรณภาพท่าน ก็เป็นพระอรหันต์ หลวงพ่อเส็ง (หลวงพ่อขนมจีน) ท่านเป็นผู้ช่วยหลวงพ่อใหญ่บูรณะวัดในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์และเป็นเจ้าอาวาสต่อจาก หลวงพ่อใหญ่ท่านเป็น พระอรหันต์รูปที่ 2 ต่อจากหลวงพ่อใหญ่ วัดเจริญต่อมาจนถึงสมัยของหลวงพ่อเล่งและหลวงพ่อไล้ ท่านเป็นพี่น้องกัน ท่านเป็นพระทรงฌานทั้งสองรูป เมื่อจะมรณภาพทุกขเวทนามาก ท่านก็เห็นทุกข์ของการเกิดเป็นทุกข์เพราะร่างกาย เห็นคุณของคำสอนของ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านก็เป็น พระอรหันต์ก่อนมรณภาพทั้งสองรูป ต่อจากนั้นก็ถึงยุคภิกขุพานิช วัดไม่ได้บูรณะมา 47 ปี จนกระทั่ง ถึงปี พ.ศ. 2511 หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (พระมหาวีระ ถาวโร) ได้มาริเริ่มบูรณะวัดอีกครั้ง
วิหารแก้ว 100 เมตร
เป็นวิหารสำคัญที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำสร้างไว้ก่อนมรณะภาพรวมทั้งยังเป็นที่รักษาสังขารร่างของหลวงพ่อที่ไม่เน่าเปื่อยในโลงแก้ว  ภายในสร้างด้วยโมเสก สีขาว ใสดูเหมือนแก้ววาววับ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปจำลองพระพุทธชินราชซึ่งเป็นพระประทานในวิหาร อีกด้วย วิหารแก้วจะเปิดให้ชมเป็นช่วงเวลา คือ ช่วงเช้า ตั้งแต่ 9.00-11.45 น .และช่วงบ่าย 14.00-16.00 น.
ปราสาททองคำ
ตกแต่งด้วยทองคำตระกาลตา สร้างด้วยฝีมือที่ประณีตงดงาม ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)ที่มาของคำว่า ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก)  สร้างเพื่อ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระที่ ทรงเสวยราชย์เป็นปีที่ 50 และทาง สำนักพระราชวังได้ให้ชื่อปราสาททองคำใหม่ว่า "ปราสาททองกาญจนาภิเษก" ปราสาททองคำ ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ประดับลวดลายไทยปิดทองคำเปลวติดกระจกใช้เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปที่ญาติโยมถวายรอบนอกปราสาท ใช้ทองคำเปลวปิดรอบปราสาทภายในปราสาทเป็นที่ประดิษฐานสิ่งของสำคัญต่างๆ
นอกจากนี้ภายในวัดท่าซุงยังมีจุดแวะชมที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น มณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้า พระศรีอาริเมตตรัย วิหารสมเด็จองค์ปฐม หอพระไตรปิฏก - หลวงพ่อเงินไหลมาเทมาเจดีย์พุดตาน มณฑปและวิหารอยู่ หลายแห่งแต่ละแห่งมักจะ ติดวัสดุกระจกและล้อมรอบด้วยแก้วใส ส่วนยอดจะสร้างในลักษณะเดียวกัน
1. รถส่วนตัว  
จากกรุงเทพเข้าสู่ป้ายต้อนรับจังหวัดอุทัยธานี วิ่งตรงตามถนนเข้าเมืองมาจนสุดทาง ก็จะเจอสามแยกมีป้ายแหล่งท่องเที่ยวที่ชี้บอกทางไปวัดท่าซุงเอาไว้ให้ เลี้ยวซ้ายเข้ามาตามทางหลวงสาย 3265 ถึงแยกไฟแดง ถัดมาก็เลี้ยว ขวาตามป้ายอำเภอมโนรมย์ขับตามป้าย บอกทางไปวัดท่าซุงซึ่งจะมีบอกอยู่เป็นระยะ
2. รถสาธารณะ
นั่งรถตู้ไปอุทัยธานี (จอดที่ใต้ทางด่วนอนุสาวรีย์ มุมตะวันออกเฉียงเหนือของอนุสาวรีย์ คนละ180 บ. ใช้เวลา 3 ชม. วันงานคนมาก) ถึงตลาดบขส.อุทัย ให้ขึ้นรถสองแถวที่เขียนว่า ท่าซุง - มโนรมย์ราคา 8 บาท (รถหมด ประมาณบ่าย 2 โมง) หรือเหมารถสามล้อ นั่งได้ 2 คน ในราคาประมาณ 70 บาท






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตลาดรถไฟ ศรีนครินทร์

ตลาดเลียบด่วน รามอินทรา